วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์

สวัสดีค่ะ ^^ ทุกท่านที่มาเยี่ยมชม blog : สร้างสรรค์
        วันนี้เราจะพาทุกท่านมารู้จักกับโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์
เชื่อว่าหลายท่านคงเคยได้ยินมาบ้างแล้ว แต่ไม่ทราบว่า คืออะไร
ปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์มีหลายภาษา เราจึงของเลือกภาษา C
มาแนะนำเพื่อน ๆ เชื่อว่าภาษาภาษา C เพื่อน ๆ คงรู้จัก หรือ คุ้นหู
ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกับภาษาคอมพิวเตอร์ กันเลย.....!!


                              (ขอบคุณรูปจาก : www.ubergizmo.com  )


ภาษาคอมพิวเตอร์ (Computer Language) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มนุษย์เขียนขึ้น เพื่อสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีมากมาย แต่ละภาษาจะมีลักษณะโครงสร้างและกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน


คลิกชมภาพต่อไป

                                      (ขอบคุณรูปจาก : guru.sanook.com)

ภาษาซี(C Programming Language) คือ ภาษาคอมพิวเตอร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมทั่วไป ถูกพัฒนาครั้งแรก เพื่อใช้เป็นภาษาสำหรับพัฒนาระบบปฏิบัติการยูนิกซ์(Unix Opearating System)แทนภาษาแอสเซมบลี ซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำที่สามารถกระทำในระบบฮาร์ดแวร์ได้ด้วยความรวดเร็ว แต่จุดอ่อนของภาษาแอซเซมบลีก็คือความยุ่งยากในโปรแกรม ความเป็นเฉพาะตัว และความแตกต่างกันไปในแต่ละเครื่อง เดนนิส ริตชี (Dennis Ritchie) จึงได้คิดค้นพัฒนาภาษาใหม่นี้ขึ้นมาเมื่อประมาณต้นปี ค.ศ.1970 โดยการรวบรวมเอาจุดเด่นของแต่ละภาษาระดับสูงผนวกเข้ากับภาษาระดับต่ำ เรียกชื่อว่า ภาษาซี

           เมื่อภาษาซี ได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีผู้ผลิต compiler ภาษาซี
ออกมาแข่งขันกันมากมาย ทำให้เริ่มมีการใส่ลูกเล่นต่างๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ซื้อ ทาง American National Standard Institute (ANSI) จึงตั้งข้อกำหนดมาตรฐานของภาษาซีขึ้น เรียกว่า ANSI C เพื่อคงมาตรฐานของภาษาไว้
ไม่ให้เปลี่ยนแปลงไป



โครงสร้างของโปรแกรมภาษาซี และตัวอย่าง


                                  (ขอบคุณรูปจาก : www.slideshare.net )

          โปรแกรมในภาษาซีทุกโปรแกรมจะประกอบด้วยฟังก์ชันอย่างน้อย หนึ่งฟังก์ชัน คือ ฟังก์ชัน main โดยโปรแกรมภาษาซีจะเริ่มทำงานที่ฟังก์ชัน main ก่อน ในแต่ละฟังก์ชันจะประกอบด้วย

          1. Function Heading ประกอบด้วยชื่อฟังก์ชัน และอาจมีรายการของ argument (บางคนเรียก parameter) อยู่ในวงเล็บ

          2. Variable Declaration ส่วนประกาศตัวแปร สำหรับภาษาซี ตัวแปรหรือค่าคงที่ทุกตัวที่ใช้ในโปรแกรมจะต้องมีการประกาศก่อนว่าจะใช้งานอย่างไร จะเก็บค่าในรูปแบบใดเช่น interger หรือ real number

          3. Compound Statements ส่วนของประโยคคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็นประโยคเชิงซ้อน (compound statement) กับ ประโยคนิพจน์ (expression statment) โดยประโยคเชิงซ้อนจะอยู่ภายในวงเล็บปีกกาคู่หนึ่ง { และ } โดยในหนึ่งประโยคเชิงซ้อน จะมีประโยคนิพจน์ที่แยกจากกันด้วยเครื่องหมาย semicolon (;) หลายๆ ประโยครวมกัน และ อาจมีวงเล็บปีกกาใส่ประโยคเชิงซ้อนย่อยเข้าไปอีกได้


อ้างอิง : http://www.krukaewta.net/web1/ng23101/unit2/u2_computer_language.html
           
http://guru.sanook.com/6394/
             
                                        < ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ >

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น